โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ. สธ.)
บริษัทฯ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าร่วมสนองพระราชดำริ ตามแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่ 6 และดำเนินงาน “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)” เพื่อร่วมสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
- เพื่อร่วมสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันหาที่สุดมิได้
- เพื่อร่วมสนองพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีในการจัดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรของประเทศและท้องถิ่น
- เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานของโครงการ อพ.สธ. เห็นความสำคัญและประโยชน์ของพันธุกรรมพืชและเกิดความหวงแหน ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ รู้จักการนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างยั่งยืน
เป้าหมายของโครงการ
คุณครูและเจ้าหน้าที่หน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมการสนองพระราชดำริกับโครงการ อพ.สธ. มีความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานที่ถูกต้อง และสามารถนำไปสื่อสารเผยแพร่ให้กับ ผู้มีส่วนได้เสียอื่นที่เกี่ยวข้องให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศร่วมกัน
การดำเนินกิจกรรม
การดำเนินโครงการ อพ.สธ. เป็นไปตามแผนแม่บทโครงการระยะ 5 ปีที่ 6(ตุลาคม 2559 – กันยายน 2564) โดยมีกรอบแนวคิดทิศทางการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริในการอนุรักษ์ ทรัพยากรของประเทศไม่เฉพาะทรัพยากรพันธุกรรมพืชอย่างเดียว แต่หมายถึงทรัพยากร 3 ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และมีแนวทางการดำเนินงานโดยสรุปประกอบด้วย 3 กรอบการดำเนินงาน 8 กิจกรรม ดังนี้
กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร
- กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
- กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
- กิจกรรมปกปักทรัพยากร
กรอบการใช้ประโยชน์
- กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
- กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
- กิจกรรมวางแผนพัฒนาทรัพยากร
กรอบการสร้างจิตสำนึก
- กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
- กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
บริษัทฯ ได้เข้าร่วมดำเนินการในกรอบการสร้างจิตสำนึก โดยมี 2 กิจกรรมหลัก คือ
- การอบรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับครูอาจารย์ของโรงเรียนสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อพ.สธ. จัดอบรมปีละ 2 รุ่น จำนวนประมาณ 50 คนต่อรุ่น
- การอบรมงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น จัดอบรมปีละ 2 รุ่น จำนวนประมาณ 50 คนต่อรุ่น
ผลการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมอบรม | เนื้อหาการอบรม | กลุ่มเป้าหมาย | สถานที่จัดอบรม | จำนวนผู้เข้าอบรม (คน) | รวม (คน) | |
---|---|---|---|---|---|---|
2561 | 2562 | |||||
สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน | ||||||
การฝึกอบรมงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับวิทยากรผู้ช่วย | ความรู้ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการ ครอบคลุมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามแนวทางของ อพ.สธ. การบริหารและจัดการองค์ความรู้การพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสู่การบูรณาการและการจัดการการ เรียนรู้ | ครู/อาจารย์ จากสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริ เพื่อเป็นวิทยากรผู้ช่วย | - ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนา ทรัพยากรภาคตะวันออก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี - ศุนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตำบลคลองไผ่ อำเภอ สีคิ้ว จ.นคราชสีมา |
48 | 68 | 116 |
การฝึกอบรมปฏิบัติงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (5 องค์ประกอบ) | ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืชและแนวทางการดำเนินงานตาม รูปแบบของ อพ.สธ. ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยลงมือเก็บข้อมูลจริงในพื้นที่จำลองกระบวนการเก็บพันธุกรรมพืช และกรอกรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำไป ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง | ครู/อาจารย์ จากสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริ | -ศูนย์ประสานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนภาคเหนือตอนบน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ | 84 | - | 84 |
การฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับวิทยากร ผู้ช่วยเตรียมสอบ | ความรู้เกี่ยวกับหลักการดำเนินงานและแนวทางการสอบเพื่อเป็นวิทยากรผู้ช่วย โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและจัดทำสื่อวิดีทัศน์เสมือนเป็นวิทยากรจริง | ครู/อาจารย์ จากสถาบัน การศึกษาที่เข้าร่วม สนองพระราชดำริ | -ศุนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา | - | 44 | 44 |
งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น | ||||||
การฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น | ความรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ ครอบคลุมแนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทาง อพ.สธ. งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น และงานสนับสนุนการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น | ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | ศูนย์ฝึกอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ | 80 | - | 80 |
การฝึกอบรมงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น สำหรับวิทยากรผู้ช่วย | ความรู้ภาคทฤษฎีและการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ปฏิบัติการภาคสนาม ครอบคลุมแนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทางของ อพ.สธ. | ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | -สวนสัตว์อุบลราชธานี ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี -ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
40 | 64 | 104 |
การฝึกอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นสำหรับวิทยากรผู้ช่วยเตรียมสอบ | ความรู้วิชาการตามหลักการตอบสนองงานพระราชดำริของโครงการ และภาคปฏิบัติ โดยลงพื้นที่ในบริเวณสถานที่ฝึกอบรม เพื่อใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัวมาเป็นข้อมูลและจัดทำสื่อ วิดีทัศน์ นำเสนอในฐานะวิทยากร เนื้อหาการอบรมส่วนใหญ่เน้นแนวทางข้อสอบที่ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเจอในการเป็นวิทยากรผู้ช่วย |
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | -ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี | - | 55 | 55 |
รวมผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด | 252 | 231 | 483 |